น้ำกับไฟ (ฟ้า) ทำไมถึงไม่ถูกกัน ?

ฤดูฝนมาเยือนทีไร หลายคนมักกังวลว่าฝนฟ้าคะนองและน้ำที่ท่วมขังว่าจะสร้างปัญหาให้กับไฟฟ้า เซฟไทยหาข้อมูลมาให้แล้วว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

น้ำกับไฟฟ้า

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

ใคร ๆ ก็รู้ว่าน้ำกับไฟฟ้าไม่ถูกกัน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เซฟไทยมีคำตอบมาเฉลยแบบกระจ่าง เพื่อให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือในช่วงฤดูฝนที่มีความเสี่ยงสูงว่าน้ำกับไฟฟ้าจะได้เจอกัน

 

น้ำกับไฟฟ้า

 

ในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีแผงวงจรไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งหากมีอะไรบางอย่างที่หลุดเข้าไปเชื่อมต่อขั้วจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง อาจทำให้เกิดไฟช็อตได้ และในความเป็นจริงแล้ว ‘น้ำ’ สามารถเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น หรือแทบจะไม่มีเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็น ‘น้ำบริสุทธิ์’ ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ และไม่มีส่วนผสมอื่นเจือปน จะไม่มีคุณสมบัติเหนี่ยวนำไฟฟ้า ในขณะที่น้ำ ซึ่งมีสารละลายอื่น ๆ เจือปน เช่น เกลือ คลอรีน ฯลฯ สามารถเป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้มากกว่า และอาจทำให้เกิดไฟช็อตหากมีน้ำซึมหรือหยดลงสู่แผงวงจรไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

น้ำกับไฟฟ้า

สารละลาย นำไฟฟ้าได้ยังไง ?

อย่างไรก็ตาม สารละลายที่นำไฟฟ้าได้นั้นในทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า ‘สารละลายอิเล็กโทรไลต์’ (Electrolyte Solution) เช่น สารละลายกรดเกลือ ทั้งนี้ สารละลายอิเล็กโทรไลต์ แบ่งออกเป็น

  • ถ้านำไฟฟ้าได้มาก เรียกว่า ‘สารละลายอิเล็กโทรไลต์แก่’ (Strong Electrolyte) เช่น สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 
  • ถ้านำไฟฟ้าได้น้อย เรียกว่า ‘สารละลายอิเล็กโทรไลต์อ่อน’ (Weak Electrolyte) เช่น สารละลายกรดอะซิติก 
  • ถ้าเป็นสารละลายที่ไม่นำไฟฟ้าเลย เรียกว่า ‘สารละลายนอนอิเล็กโทรไลต์’ (Non-electrolyte) เช่น สารละลายกลูโคส

แล้วทำไมสารละลายอิเล็กโทรไลต์ถึงนำไฟฟ้าได้ล่ะ ? คำตอบก็คือ เพราะในสารละลายมีไอออนซึ่งมีประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออนบวก และไอออนลบ นั่นหมายความว่า สารละลายในน้ำจะมีการแตกตัวออกเป็นสองส่วน และมีประจุตรงข้ามกัน แต่ละส่วนถูกเรียกว่า ไอออน โดยไอออนส่วนหนึ่งจะมีประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า ไอออนบวก และไอออนอีกส่วนหนึ่งจะมีประจุไฟฟ้าลบเรียกว่า ไอออนลบ โดยทั้งสองขั้วจะมีปริมาณไอออนเท่า ๆ กัน

การเคลื่อนที่ของไอออนบวกและลบ

บนสนามไฟฟ้า ไอออนบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าลบและไอออนลบจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าบวก ไอออนบวกที่เคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าลบจะไปรับประจุลบหรืออิเล็กตรอน ส่วนไอออนลบที่เคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าบวกจะเป็นตัวพาประจุลบไปให้ขั้วไฟฟ้า ไหลวนเวียนกันอยู่ในสารละลาย จึงก่อให้เกิดการนำไฟฟ้าขึ้น

 

น้ำกับไฟฟ้า

น้ำฝนเป็นตัวนำไฟฟ้าได้หรือไม่ ?

อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า น้ำบริสุทธิ์จะไม่สามารถเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ บางคนอาจเกิดความสงสัยว่าแล้วน้ำฝนล่ะ บริสุทธิ์พอที่จะเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้หรือไม่ เซฟไทยไปหาคำตอบมาแล้วพบว่า น้ำตามสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำในทะเลสาบ แม่น้ำ ฯลฯ จะมีค่า EC ต่ำ (EC ย่อมาจาก Electrical Conductivity หรือการนำไฟฟ้าของน้ำ) แต่เมื่อน้ำฝนมีการปนเปื้อนหรือสิ่งเจือปนอื่น ๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยง จึงจำเป็นต้องดูแลระบบไฟฟ้าของบ้านให้ปลอดภัย ตรวจเช็กให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ

 

ที่มา :
https://www.youtube.com

https://www.blockdit.com

https://www.scimath.org

https://www.neonics.co.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก