9 อาการอันตรายจากภาวะ “ไฟดูด” ฉับพลัน

เช็กลิสต์ 9 อาการจากการโดนไฟดูดฉับพลันมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ไฟดูด

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

หนึ่งในภัยที่มาพร้อมหน้าฝนคือ ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุไฟช็อตไฟดูด เพราะเมื่อฝนตก น้ำฝนที่ปนเปื้อนสารต่าง ๆ รวมไปถึงความชื้นที่สะสมย่อมส่งผลให้น้ำกลายเป็นตัวนำไฟฟ้าได้อย่างดี ยิ่งถ้าตัวเราเปียกฝนหรือมีความชื้นตามตัว แล้วเผลอไปสัมผัสกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วด้วยแล้ว ยิ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันตามมา เซฟไทยขอนำข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากภาวะไฟดูดแบบฉับพลัน ทั้งอาการเมื่อโดนไฟดูด และสิ่งที่ส่งผลต่อความรุนแรงในการถูกไฟดูดมาบอกต่อ เพื่อให้ทุกคนเตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง

 

ไฟดูด

9 อาการเมื่อโดนไฟดูดแบบฉับพลัน

1. รู้สึกชาบริเวณที่สัมผัสกับกระแสไฟ

2. ปวดกล้ามเนื้อจากการหดเกร็งหรือมีการกระตุกอย่างรุนแรง

3. เกิดแผลไหม้ โดยเฉพาะในบริเวณที่สัมผัสกับกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นในบริเวณที่มีกระแสไฟไหลเข้าและออก

4. มีอาการผิดปกติของอวัยวะภายในที่ได้รับบาดเจ็บ เช่น อาจมีผลต่อการมองเห็น การได้ยิน การกลืน แม้แต่การหายใจ และชีพจรหยุดเต้น

5. มีอาการชัก

6. มีอาการเคลื่อนไหวไม่ได้หรือเป็นอัมพาต

7. หมดสติ

8. เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

9. ทำให้เสียชีวิต โดยเฉพาะหากได้รับกระแสไฟฟ้าเกิน 30 โวลต์ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับหรือไฟฟ้ากระแสตรง ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

ไฟดูด

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงเมื่อถูกไฟดูด

ความรุนแรงของผู้ที่โดนไฟดูดนั้นอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

1.  ตำแหน่งของร่างกายที่มีการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ยิ่งตำแหน่งที่โดนไฟดูดใกล้หัวใจมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งอันตรายมากขึ้นเท่านั้น

2.  ปริมาณกระแสไฟฟ้า และระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ร่างกาย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับที่ 1 หากมีปริมาณของกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายไม่เกิน 0.5 มิลลิแอมป์ (mAh หรือ Ah) จะรู้สึกว่าถูกไฟดูดเพียงเล็กน้อย ซึ่งยังถือว่าปลอดภัย
  • ระดับที่ 2 กรณีที่มีปริมาณของกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกาย 50 มิลลิแอมป์ จะรู้สึกว่าถูกไฟฟ้าดูด โดยกล้ามเนื้อจะมีการหดเกร็ง แต่โดยรวมยังถือว่าปลอดภัยหรือไม่ถึงขั้นเสียชีวิต 

หากระยะเวลาที่กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลามากกว่า 0.1 วินาที จะเริ่มเข้าสู่ระดับที่ 3 และในกรณีปริมาณของกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเป็น 100 มิลลิแอมป์ จะเริ่มรุนแรงมากขึ้น

ทั้งนี้ โดยปกติร่างกายจะสามารถรับกระแสไฟฟ้าระดับนี้ได้เพียง 0.02 วินาทีเท่านั้น หากมากกว่านี้ ก็จะเข้าสู่ระดับที่ 3 นั่นคือ

  • ระดับที่ 3 ปริมาณกระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่ 200 มิลลิแอมป์ขึ้นไป เป็นระดับที่อันตราย โดยกล้ามเนื้อจะมีการหดตัวอย่างรุนแรง การหายใจเริ่มติดขัด ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และอาจจะเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที
  • ระดับที่ 4 ปริมาณกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายตั้งแต่ 200 มิลลิแอมป์ขึ้นไป ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที

วิธีป้องกันไฟดูด

การติดตั้งสายดินและเครื่องตัดไฟรั่วหรือ RCD จึงเป็นตัวช่วยที่ปลอดภัยที่สุด โดยเฉพาะเครื่องตัดไฟรั่วจะสั่งตัดไฟทันทีเมื่อตรวจสอบได้ว่ามีกระแสไฟรั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิน 30 มิลลิแอมป์ขึ้นไป ซึ่งกระแสไฟฟ้าระดับ 30 มิลลิแอมป์ ถ้าอยู่ในร่างกายเกิน 2 วินาทีขึ้นไป ความรุนแรงจะก้าวกระโดดไปอยู่ที่ระดับ 4 หรือเป็นระดับที่ทำให้เสียชีวิตได้โดยฉับพลัน 

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจะมีแรงดันไฟฟ้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 220 หรือ 230 โวลต์ ซึ่งหากบังเอิญไปสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่มีไฟรั่ว จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่ร่างกายอยู่ที่ระดับ 200 มิลลิแอมป์ อาจเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที

 

ที่มา :

https://www.siphhospital.com

https://www.facebook.com/watch

https://www.cpmagnetic.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก