รู้หรือไม่ว่าบนเสาไฟฟ้ามีสายไฟฟ้ากี่ประเภท?

เพิ่มความรู้รอบตัวประดับไว้ไม่เสียหาย กับ สายต่าง ๆ ที่อยู่บนเสาไฟฟ้า

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

เวลาเดินไปตามท้องถนนก็ต้องมองทางข้างหน้าให้ดี เวลานั่งรถก็ต้องคอยดูทางไม่ให้หลง หรือแม้แต่ถ่ายรูปวิวท้องฟ้าก็คงไม่ถ่ายให้ติดเสาไฟฟ้า

แบบนี้คงมีน้อยคนเป็นแน่ที่คอยสังเกตเสาไฟฟ้า คงเพราะไม่รู้จะมองไปทำไม สังเกตไปแล้วได้อะไร?

เซฟไทยจะมาบอกให้ว่าบนเสาไฟฟ้าไม่ได้มีแค่สายไฟฟ้า และทำไมจึงควรสังเกตให้ดี

 

โดยจะแบ่งออกเป็น 3 สาย ดังนี้

 

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ
ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 230 หรือ 400 โวลต์ ซึ่งจะใกล้เคียงกับแรงดันไฟของไฟฟ้า 1 เฟสที่มีแรงดันอยู่ที่ 220 โวลต์

ตำแหน่งบนเสาไฟ : ระดับกลางระหว่างสายไฟฟ้าแรงดันสูงและสายสื่อสาร สามารถมีลูกถ้วยอยู่ด้วยได้

2. สายไฟฟ้าแรงดันสูง
สามารถมีแรงดันได้ทั้ง 22,000 โวลต์ หรือ 33,000 โวลต์ ซึ่งถ้ามีแรงดันที่มากกว่า 1,000 โวลต์ขึ้นไปก็ถือเป็นไฟฟ้าแรงดันสูงแล้ว หรือ มองง่าย ๆ คือ 1 kV ขึ้นไป

ตำแหน่งบนเสาไฟ : ระดับบนสุดเหนือสายไฟฟ้าแรงดันต่ำและสายสื่อสาร เพราะยิ่งแรงดันเยอะยิ่งควรห่างจากสิ่งรอบข้าง

* หมายเหตุ * สังเกตสายไฟฟ้าแรงดันสูงได้จาก ‘ลูกถ้วย’

๐ ลูกถ้วยคืออะไร?
มีลักษณะกลมสีดำคล้ายลูกคิด ทำหน้าที่เหมือนฉนวนที่ใช้รองรับสายไฟไม่ให้เกิดการลัดวงจร ในกรณีที่ไม่สามารถกะความสูงของสายได้ด้วยสายตาก็ให้มองหา ‘ลูกถ้วย’ ซึ่งช่วยในการจำแนกได้ และถ้ายิ่งมีแรงดันไฟฟ้าสูงมากแค่ไหน จำนวนลูกถ้วยก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย หมายความว่ายิ่งลูกถ้วยมากแค่ไหนต้องยิ่งระวังเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ

3. สายสื่อสาร
เป็นสายสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต มีหลายแห่งที่ PEA กำลังดำเนินการจัดระเบียบอยู่

ตำแหน่งบนเสาไฟ : ระดับล่างสุดจากสายไฟฟ้าแรงดันต่ำและสูง

ทีนี้ก็ทราบกันแล้วว่าบนเสาไฟฟ้าที่ผ่านไปมากันทุกวันนั้นมีสายอะไรบ้าง

“แต่แล้วทำไมต้องสังเกตให้ดีล่ะ?”

 

เหตุการณ์สมมติ 1

นาย ก ขับจักรยานตามทางสัญจรที่จัดไว้ให้และพบสายสื่อสารที่หย่อยคล้อยลงมากีดขวางทางสัญจร นาย ก ไม่สนใจและขี่หลบผ่านไป ต่อมา เด็กชาย เอ ขี่จักรยานผ่านมาในทางเดียวกัน และด้วยความไม่รู้ทำให้เด็กชาย เอ ได้รับอุบัติเหตุจากสายสื่อสารนั้น

เหตุการณ์สมมติ 2

นางสาว บี เดินสัญจรตามทางเท้าแล้วพบว่าสายที่อยู่สูงสุดบนเสาไฟฟ้าเกิดหย่อนลงมานิดนึง แต่คิดว่าไม่เป็นปัญหา เพราะสายไฟที่หย่อนนั้นห่างจากตัวพื้นค่อนข้างเยอะ ผลปรากฏว่าสายไฟดังกล่าวนั้นเป็นสายไฟแรงดันสูงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางไฟฟ้าตามมาทีหลัง

เหตุการณ์สมมติข้างต้นเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากสายต่าง ๆ บนเสาไฟฟ้ามีปัญหา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมทุกคนจึงควรเป็นหูเป็นตาให้ซึ่งกันและกัน

 

ดังนั้น ถ้าพบเห็นสายสื่อสารที่ดูมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายก็แจ้งหน่วยงาน กสทช โทร. 1200
หรือถ้าพบเห็นสายไฟชำรุดก็แจ้ง PEA Contact Center โทร. 1129 นะครับ

ที่มา : สํานักข่าวไทย TNAMCOT

ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA)

ที่มา : MOTOR EXPO 2021

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก