ไฟฟ้าโรงงาน ใช้แบบไหนถึงเหมาะสม พร้อมสิ่งที่ต้องตรวจเป็นประจำ

การเลือกใช้ไฟฟ้าโรงงานที่เหมาะสมมีความสำคัญทั้งต่อความปลอดภัยและใช้พลังงานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด พร้อมลิสต์การตรวจสอบอุปกรณ์ที่จำเป็น

ไฟฟ้าโรงงาน ใช้แบบไหนถึงเหมาะสม

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

โรงงานอุตสาหกรรม ถือเป็นสถานที่ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด เพราะฉะนั้นการเลือกใช้ไฟฟ้าโรงงานควรเลือกให้เหมาะสม โดยสามารถคลิกอ่าน ระบบไฟฟ้า 1 เฟส และระบบไฟฟ้า 3 เฟส นอกจากนี้ยังจำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงานอยู่เป็นประจำ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดโอกาสการเกิดอันตรายจากระบบไฟฟ้า

 

ไฟฟ้าโรงงานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส

ไฟฟ้าโรงงานจะนิยมเลือกใช้ระบบไฟฟ้า 3 เฟส โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า ที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นระบบทำความเย็น ระบบทำความร้อน ระบบมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ต้องอาศัยกำลังไฟฟ้าแรงสูง จึงเหมาะแก่การใช้เป็นไฟฟ้าโรงงานมากที่สุดนั่นเอง

 

เนื่องจากไฟฟ้าโรงงานมีความต้องการในการใช้ไฟมากกว่าในครัวเรือนหลายเท่า ดังนั้นการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงานจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเรื่องความปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายแล้ว ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้กำหนดให้แต่ละโรงงานต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงาน

 

การตรวจสอบไฟฟ้าโรงงาน

ไฟฟ้าโรงงานต้องตรวจสอบอย่างไร

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงาน สามารถตรวจสอบได้ 2 แบบ ดังนี้

  • การตรวจสอบด้วยสายตา เป็นการประเมินเบื้องต้นแบบคร่าว ๆ
  • การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด เป็นการประเมินละเอียดที่มีการใช้เครื่องมือและการวิเคราะห์

นอกจากการตรวจสอบทั้ง 2 รูปแบบนี้แล้ว ยังสามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ส่วน คือ การตรวจสอบสภาพทั่วไป และการตรวจสอบตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า

  1. การตรวจสอบสภาพทั่วไป

การตรวจแบบทั่วไปแม้จะง่ายแต่ยังต้องอาศัยความรู้ว่าแบบไหนจะเป็นอันตรายจากไฟฟ้าของผู้ทำการตรวจสอบ โดยการตรวจในขั้นตอนนี้ ประกอบด้วย

  • สายไฟฟ้า
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์
  • ขั้วต่อหรือจุดต่อสาย
  • การระบายอากาศในห้องควบคุมระบบไฟฟ้า และห้องปฏิบัติการ
  • การระบายอากาศและท่อไอเสียสำหรับห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • แบตเตอรี่
  1. การตรวจสอบตัวอุปกรณ์ไฟฟ้า

การตรวจสอบในขั้นตอนนี้มีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบ เพราะต้องตรวจเพื่อหาจุดเสื่อมสภาพหรือความผิดปกติต่าง ๆ มีการจดบันทึกผลการตรวจ ผ่านการวิเคราะห์ผล หาวิธีแก้ไข และที่สำคัญที่สุดคือ อุปกรณ์บางตัวต้องตรวจขณะที่จ่ายไฟอยู่ บางตัวต้องหยุดการจ่ายไฟเพื่อตรวจสอบ ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องตรวจสอบนั้นมีดังนี้

  • หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ต้องทำการตรวจสอบตัวถังหม้อแปลงและโครงสร้างที่เป็นโลหะ รวมถึงอุปกรณ์ส่วนควบ การต่อลงดินของส่วนที่เป็นโลหะเปิดโล่ง สารดูดความชื้น ป้ายเตือนอันตราย พื้นลานหม้อแปลง เสาหม้อแปลง การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุงและตรวจสภาพการติดตั้งหม้อแปลง และอื่น ๆ
  • ตู้เมนสวิตช์ ต้องตรวจหลายประการด้วยกัน เช่น สภาพของระบบสายดินและการต่อหลักดิน การตรวจพื้นที่โดยรอบตู้และสภาพทั่วไป ความผิดปกติทางกายภาพ การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อมบำรุง รวมถึงการตรวจสอบการทำงานของเครื่องวัดที่หน้าแผง และหลอดไฟแสดงผลต่าง ๆ
  • การตรวจสภาพแผงย่อย ทั้งบริเวณพื้นที่ทั่วไปและที่มีสารไวไฟต้องระบุประเภทและแบบของบริเวณนั้นด้วย ต้องมีการตรวจสอบสภาพของจุดเชื่อมต่อสายไฟระบบต่อลงดิน บริเวณโดยรอบ การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมหรือซ่อมบำรุง
  • ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ สามารถตรวจเฉพาะพื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ที่ติดไฟได้ง่าย ตรวจสอบทั้งพื้นที่ติดตั้ง สภาพของอุปกรณ์และการต่อสายไฟฟ้า บริเวณโดยรอบอุปกรณ์ การปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม ซ่อมบำรุงและตรวจการป้องกันการสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้า การต่อสายไฟลงดินสามารถตรวจด้วยสายตาได้
  • โคมไฟ หลอดไฟ และระบบไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น การติดตั้งและโครงสร้างของโคมไฟ หลอดไฟและขั้วหลอด สายป้อน สายวงจรย่อย และสวิตช์ตัดตอนของระบบไฟฟ้าแสงสว่าง การปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือซ่อม

โดยการตรวจสอบระบบไฟฟ้าโรงงานเหล่านี้จะต้องตรวจปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและการใช้งานด้วย ซึ่งจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายด้าน อาทิ การกัดกร่อนของบรรยากาศ สิ่งสกปรกและฝุ่นละออง อุณหภูมิโดยรอบและความชื้น ความถี่ในการทำงาน รวมไปถึงความถี่ในการตัดกระแสลัดวงจร (กรณีเซอร์กิตเบรกเกอร์)

วิธีประหยัดไฟฟ้าโรงงาน

คัดสรรอุปกรณ์ในไฟฟ้าโรงงานเพื่อช่วยประหยัดไฟ

  1. หม้อแปลงไฟฟ้า

ควรปรับแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม หากแรงดันต่ำเกินไปการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าจะได้ประสิทธิภาพลดลง ส่วนการใช้กระแสไฟถ้าไม่คงที่ก็จะส่งผลให้อัตราการใช้ไฟนั้นมากเกินจำเป็น และที่สำคัญควรมีแรงดันไฟฟ้าตก (Voltage drop) ไม่เกิน 3%

  1. หลอดไฟ

ควรเลือกใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูง เช่น หลอดไฟ LED, หลอดโซเดียมความดันสูง ถ้าเป็นโคมไฟควรเลือกผิวสะท้อนแสงดี เพราะจะช่วยเพิ่มความสว่างถึง 30% และควรทำความสะอาดอุปกรณ์อย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง

  1. ทำความสะอาดจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้า

ดูแลจุดเชื่อมต่อทางไฟฟ้าให้แน่นและทำความสะอาดอย่างน้อย 1 – 2 ครั้งต่อปี ป้องกันอันตรายจากจุดเชื่อมไฟฟ้าที่หลวม และป้องกันสิ่งสกปรกที่ทำให้การนำกระแสไฟฟ้าไม่สะดวก

  1. เลือกใช้มอเตอร์

ควรใช้มอเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีประสิทธิภาพสูง ระบายความร้อนได้ดี และอย่าลืมเลือกพื้นที่ติดตั้งมอเตอร์ให้มีอากาศถ่ายเทดีด้วย

 

การใช้ไฟฟ้าในโรงงานแม้จะมีการใช้กระแสไฟมาก แต่ถ้าทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอยู่เป็นประจำ สม่ำเสมอ พร้อมเลือกอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์การใช้งานก็จะสามารถช่วยประหยัดไฟและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน

 

ที่มา : Industrypro

skn-powerengineering

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก