เลือกใช้ไฟดาวน์ไลท์อย่างไรให้ห้องสวย พร้อมประหยัดไฟ

ไฟส่องสว่างสวยงามอย่าง ‘ไฟดาวน์ไลท์’ ที่นิยมเลือกใช้อย่างแพร่หลาย แต่หากติดตั้งไม่เหมาะสมอาจทำให้การใช้งานไฟดาวน์ไลท์ทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

เจาะลึก ไฟดาวน์ไลท์

SHARES

Share on facebook
Share on twitter
Share on pinterest
Share on linkedin

รู้ไหม? ปัจจุบันไฟดาวน์ไลท์ กลายมาเป็นหลอดไฟที่หลายคนมักให้ความสนใจและเลือกใช้ เพราะด้วยความสวยงาม มอบบรรยากาศให้ดูดี แสงส่องสว่างครอบคลุมได้ตามบริเวณได้อย่างน่าพึงพอใจ แต่ถ้าเรารู้จักกับไฟดาวน์ไลท์ให้มากขึ้นจะช่วยให้สามารถเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่และความประสงค์ รวมไปถึงยังช่วยเรื่องประหยัดไฟมากกว่าเดิมอีกด้วย

รู้จัก ไฟดาวน์ไลท์ คืออะไร

ไฟดาวน์ไลท์ (Downlight Luminaire) เป็นโคมไฟที่มอบแสงสว่างแบบส่องลง กระจายตัวสู่ด้านล่าง มีขนาดเล็ก แต่ให้ประสิทธิภาพการใช้งานที่สมบูรณ์ทั้งในด้านความสวยงามและแสงสว่างที่ตรงตามต้องการ แถมยังสร้างบรรยากาศให้รู้สึกนุ่มนวลสบายตามากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญคือ ‘ประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟทั่วไป’ เหมาะกับการเลือกใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด หรืออยากเติมแสงสว่างให้จุดที่ต้องการมากกว่าเดิม จึงไม่แปลกใจเลยที่ไฟดาวน์ไลท์จะเป็นที่นิยมชมชอบในการเลือกมาใช้ตกแต่งห้อง ซึ่งไฟดาวน์ไลท์มีอยู่หลายแบบ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานที่ต่างกัน

ไฟดาวน์ไลท์มีกี่แบบ

ประเภทของไฟดาวไลท์

  1. ไฟดาวไลท์แบบฝังใต้ฝ้า (Recessed Downlight)

เป็นการฝังโคมอยู่ใต้ฝ้าทั้งหมด จะดูกลมกลืนไปกับฝ้าเพดาน เห็นเพียงหน้าโคมเท่านั้น ทำให้มีความสวยงามสบายตา จึงเป็นไฟดาวน์ไลท์ที่นิยมใช้งานมากที่สุด โดยเฉพาะในบ้าน ที่พักอาศัย คอนโดมิเนียม ร้านอาหาร รวมถึงโรงแรม หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ

  1. ไฟดาวไลท์แบบติดลอย (Surface Downlight)

หากอยากได้ไฟที่ให้ความสวยงาม เป็นของตกแต่งห้องให้ดูน่าสนใจมากขึ้น ไฟดาวน์ไลท์แบบติดลอยจะให้เราเห็นตัวโคมอย่างชัดเจน มักเลือกใช้งานกับตัวห้องที่ไม่มีโครงฝ้า เน้นใช้ไฟเป็นหลัก มีหลายดีไซน์ หลายขนาดให้เลือกตามต้องการ

  1. ไฟดาวไลท์แบบห้อยเพดาน (Pendant Luminaire)

เราอาจจะเคยเห็นโคมไฟที่มีสายห้อยลงมาจากฝ้าเพดาน ซึ่งนั่นเราเรียกว่า ไฟดาวน์ไลท์แบบห้อยเพดาน มีความโดดเด่น ดีไซน์หลากหลาย ได้ทั้งแสงสว่างและตกแต่งห้องได้ในตัวพร้อมกัน

  1. ไฟดาวไลท์แบบฝังกึ่งลอย (Semi Recessed Downlight)

ตัวโคมจะฝังอยู่ในฝ้าเพดานและจะมีส่วนหน้าโคมที่ยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย ไฟดาวน์ไลท์ประเภทนี้จะช่วยลดพื้นที่ใต้ฝ้า เหมาะสำหรับการติดตั้งในทุกที่อยู่อาศัยที่ต้องการเพิ่มลูกเล่นให้เพดาน ให้ความสว่างและความสวยงามไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ ไฟดาวน์ไลท์มีหลายแบบ หลายขนาด ความโดดเด่นก็แตกต่างกันออกไป ซึ่งลักษณะของไฟดาวน์ไลท์ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 3 แบบ ดังนี้

ลักษณะของไฟดาวน์ไลท์

  • ไฟดาวน์ไลท์ที่สามารถเปลี่ยนหลอดได้ (Downlight Retrofit) มีทั้งแบบเกลียว ขั้วเสียบ และขั้วอื่น ๆ นิยมใช้มากที่สุด หาซื้อง่าย
  • ไฟดาวน์ไลท์ที่มีเม็ดไฟ LED ภายใน เชื่อมเป็นชิ้นเดียวกัน (Downlight LED Build-in) อายุการใช้งานยาว ขนาดเล็ก ให้แสงสว่างมาก ประหยัดค่าไฟ มักนิยมใช้กับตู้โชว์ ชั้นวางสินค้า มากกว่าฝ้าเพดาน เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนหลอดได้ ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งชุด ควรมีชุดหลอดไฟสำรองเอาไว้ เพราะร้านค้าที่จำหน่ายจะมีไม่เหมือนกัน
  • ไฟดาวน์ไลท์ ประเภท Replaceable LED Module เป็นการรวมตัวจากทั้งแบบ Retrofit และ LED Build-in มีส่วนหน้าโคมและหลอด LED สามารถถอดประกอบได้ โดยมีหน้าโคมอันเดิมอยู่ แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก

วิธีเลือกไฟดาวน์ไลท์

วิธีเลือกไฟดาวน์ไลท์

ก่อนที่จะติดตั้งไฟดาวน์ไลท์ จำเป็นต้องรู้วิธีเลือกให้ถูกต้อง เพราะไฟดาวน์ไลท์จะใช้งานคู่กับหลอดประหยัดไฟต่าง ๆ ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน หากติดตั้งเป็นแนวราบ แสงสว่างจะกระจายตัว ส่วนการติดตั้งแบบแนวดิ่งจะช่วยระบายความร้อน เราจึงจำเป็นต้องรู้วิธีเลือกไฟดาวน์ไลท์เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ดังนี้

  • คำนึงถึงวิธีการใส่หลอดไฟที่มีทั้งแบบแนวตั้ง เช่น หลอดไส้ หลอดตะเกียบ และแบบแนวนอน
  • ดูขั้วหลอดไฟ สามารถดูรหัสขั้วหลอดได้ที่ข้างโคม เช่น หลอดตะเกียบ เลข GU4 ใช้กับหลอดฮาโลเจน (MR11)
  • ดูขนาดความสูง เลือกให้พอดีกับพื้นที่ที่จะติดตั้งใต้ฝ้าเพดาน เพราะจำเป็นต้องเหลือพื้นที่พอให้มีช่องว่าง เพื่อระบายความร้อน ควรดูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในโคมไฟให้มีมากกว่าขนาดหลอดไฟ
  • ผิวสะท้อนของไฟดาวน์ไลท์ เช่น ผิว Clear Anodized แบบเรียบมันวาว จะให้แสงสว่างเต็มที่ ส่วน Beehive Facet พื้นผิวมัน มีมุมหักเหแสง ให้แสงเป็นประกาย เน้นเฉพาะจุด และผิวแบบเหลี่ยมมีมุมหักเหแสง เป็นประกายที่นุ่มนวลสบายตา

หลักการติดตั้งไฟดาวน์ไลท์ สำหรับแต่ละห้อง

ตามหลักมาตรฐานของการติดตั้งไฟดาวน์ไลท์ สามารถทำได้ด้วยการคำนวณความสูงของฝ้าเพดาน เริ่มที่ประมาณ 2.5 เมตรขึ้นไป แนะนำให้มีระยะห่างในการติดตั้งตามนี้

– ห้องนอน ระยะห่างในแต่ละดวงประมาณ 1.5 เมตร

– ห้องนั่งเล่น ระยะห่างในแต่ละดวงประมาณ 1 เมตร

– ห้องทำงาน ระยะห่างในแต่ละดวงประมาณ 0.8 เมตร

 

นอกจากนี้การติดตั้งไฟดาวน์ไลท์ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและความสวยงาม เพราะหากหลอดไฟที่ไม่ควรโผล่ออกมา ดันโผล่ออกมานอกโคม ไฟจะสว่างจ้ามากเกินไป รวมถึงเลือกใช้หลอดประหยัดไฟ เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานและประหยัดพลังงานได้อีกด้วย

 

ที่มา: kachathailand

ligman.com

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้สำหรับการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึก