SHARES
ใครที่กำลังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าว่าต้องอ่านยังไงถึงจะรู้ว่าเดือนนี้เราใช้ไฟไปกี่หน่วย รวมถึงการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละบ้าน เพื่อให้ตอบโจทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางเซฟไทยจะพาไปไขข้อสงสัยเหล่านี้กัน
ก่อนที่เราจะไปรู้ถึงวิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องรู้จักกับมิเตอร์ไฟฟ้า (Kilowatt-Hour Meter) ว่าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดพลังงานไฟฟ้า วัดกำลังไฟฟ้าได้ทั้งระดับครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยวัดเป็น ‘กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง’ (Kilowatt-Hour)
มิเตอร์ไฟฟ้ามีหลายประเภท โดยสามารถแยกตามการใช้งานได้ดังนี้
ก่อนอื่นควรสังเกตบนหน้าปัดของมิเตอร์ไฟฟ้าจะมีช่องตัวเลข 5 ช่อง ช่องสุดท้ายจะเป็นช่องที่แสดงถึงหลักจุดทศนิยม เมื่อหลักจุดทศนิยมหมุนครบรอบ 0-9 แล้ว ตัวเลขในหลักหน่วยก็จะหมุนตัวเลขขึ้นมาตามลำดับไปเรื่อย ๆ จนถึงหลักสิบ หลักร้อย หลักพัน โดยแต่ละช่องก็จะหมุนตัวเลขไปตามระยะเวลาที่เราใช้ไฟฟ้าจนครบรอบ 0-9 แล้ววนกลับมาที่ 0 ใหม่อีกครั้ง เมื่อถึงขีดกำจัดของขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งวิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีหลักจุดทศนิยม จะอ่านค่าตั้งแต่หลักหน่วยถึงหลักพัน ไม่นับจุดทศนิยมมาอ่านด้วย
อ่านค่าโดยไม่นับหลักทศนิยม
ต้นเดือนวันที่ 1 จดมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ที่ 3562.5
ปลายเดือนวันที่ 31 จดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ 3662.9
สรุปว่าในเดือนนั้นใช้ไฟไปทั้งหมด 100 หน่วย
*ไม่นับหลักจุดทศนิยม
อ่านค่าโดยนับหลักทศนิยม
ต้นเดือนวันที่ 1 จดมิเตอร์ไฟฟ้าไว้ที่ 35625
ปลายเดือนวันที่ 31 จดมิเตอร์ไฟฟ้าได้ 36629
สรุปว่าในเดือนนั้นใช้ไฟไปทั้งหมด 1,004 หน่วย
*นับหลักจุดทศนิยมเข้าไปด้วย
การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่มีหลากหลายขนาดให้เหมาะสมกับบ้าน ควรคำนึงถึงการใช้งานไฟฟ้า โดยสามารถพิจารณาได้จากสมาชิกในบ้าน ปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและอนาคต
สูตรการคำนวณเบื้องต้นด้วยตัวเองว่าที่บ้านของเราเหมาะสมกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าใด มีดังนี้
(P ÷ V) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น = กระแสไฟฟ้าทั้งหมด
กระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในบ้าน x 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต)
เริ่มจากนำ กำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น (วัตต์) ดูได้บนฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า หารด้วย ความต่างศักย์ (โวลต์) คูณด้วยจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น แล้วนำกระแสไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้าน มาบวกรวมกัน และคูณด้วย 1.25 (ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจจะใช้มากขึ้นในอนาคต) เช่น
โคมไฟฟลูออเรสเซนต์ 36W จำนวน 10 ชุด = 36/220×10 = 1.64
พัดลม 100W จำนวน 4 ชุด = 100/220×4 = 1.82
เครื่องปรับอากาศ 1,800W จำนวน 2 ชุด = 1,800/220×2 = 16.36
เครื่องเสียง 200W จำนวน 1 ชุด = 200/220 = 0.91
เครื่องซักผ้า 3,000W จำนวน 1 ชุด = 3,000/220 = 13.64
รวมกระแสไฟฟ้า 1.64+1.82+16.36+0.91+13.64 = 34.37 แอมแปร์
คูณด้วย 1.25 เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้า 25% = 34.37 x 1.25 = 42.96 แอมแปร์
จากการคำนวณปริมาณใช้ไฟฟ้าแล้วสามารถเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า 30(100) ที่ใช้ไฟฟ้าได้ถึง 75 แอมแปร์ เพียงเท่านี้เราก็เลือกมิเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมแล้ว
ได้รู้วิธีอ่านมิเตอร์ไฟฟ้ากันไปแล้ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย อย่างไรก็ตามการเลือกมิเตอร์ไฟฟ้าควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกใช้มิเตอร์ที่มีคุณภาพและเหมาะสมต่อการใช้งาน
ที่มา: lekise
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับคุกกี้ทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน