SHARES
ทำไมเราถึงควรรู้วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร? เพราะเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจรสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่ออย่างไม่รู้ตัว หากมีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าผิดวิธี ไม่ได้มาตรฐาน ชำรุดแล้วยังใช้งานต่อ ความประมาทของผู้ใช้เอง รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกิดจากธรรมชาติด้วย ซึ่งเหตุไฟฟ้าลัดวงจรถือว่าเป็นความอันตรายอย่างหนึ่ง ทางเซฟไทยจึงจะพาทุกคนไปดูวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้แบบปลอดภัย
ก่อนที่เราจะไปเตรียมวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเพื่อความปลอดภัยในบ้าน เราจำเป็นจะต้องรู้ว่าไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) คือ เหตุการณ์ที่กระแสไฟฟ้าไหลผิดปกติจนเกิดความร้อนทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วออกมาและนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะโดนไฟดูดหรือไฟช็อต ไปจนถึงเหตุอัคคีภัยได้เลยทีเดียว
เนื่องจากคัตเอาต์แบบเก่าจะสามารถตัดวงจรไฟฟ้าได้ด้วยการใช้มือยกขึ้นลงเองเท่านั้น ไม่สามารถตัดการทำงานได้อย่างทันทีเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้เสี่ยงอันตรายมากกว่าเดิม
อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ภายในบ้านอย่าง ปลั๊กพ่วง สายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรเลือกที่มีมาตรฐานรับรองความปลอดภัยต่อการใช้งาน เช่น วิธีเลือกปลั๊กไฟต้องมีสัญลักษณ์ มอก. เสมอ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ วิธีเลือกปลั๊กไฟให้ได้มาตรฐาน ใช้งานได้ยาว ๆ ไม่เสี่ยงอันตราย
การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าผิดวิธีสามารถนำไปสู่อันตรายได้อย่างไม่คาดถึง โดยเฉพาะการใช้ปลั๊กพ่วงต่อ ๆ กันหลายอัน เอาปลั๊กพ่วงนี้มาต่อพ่วงอีกอันนึง เพราะการพ่วงต่อกันมากเกินไปอาจมีโอกาสที่กระแสไฟจะเกินกำลังวัตต์ที่รับไหว จึงเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้นั่นเอง
หลายครั้งที่เหตุไฟฟ้าลัดวงจรจะเกิดมาจากการที่เราทนใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด ไม่ว่าจะเป็นฉนวนสายไฟ ปลั๊กเต้ารับ รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สิ้นอายุการใช้งานแล้ว ทางที่ดีควรซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ก่อนใช้งานต่อ และที่สำคัญ หากใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน
สาเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรสามารถมาจากภัยธรรมชาติได้เช่นกัน หากเกิดฟ้าผ่าลงที่สายไฟ พื้นที่บริเวณรอบ ๆ ก็อาจได้รับผลกระทบให้ไฟฟ้าลัดวงจร
ความสำคัญของการติดตั้งสายดินจะช่วยลดความอันตรายให้ผู้ใช้งานเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยกระแสไฟฟ้าจะไหลลงดินแทนเข้าสู่ร่างกายเรา นอกจากจะช่วยป้องกันชีวิตแล้ว ยังช่วยเซฟทรัพย์สินเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ไม่ให้เสียหายอีกด้วย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ไขข้อสงสัย ทำไมต้องต่อสายดิน พร้อมบอกทริกว่าสายดินที่บ้านใช้ได้
เนื่องจากการใช้คัตเอาต์แบบเก่าเสี่ยงอันตราย จึงแนะนำให้เลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งมีส่วนช่วยในการตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้เป็นอย่างมาก
เมื่อฉนวนสายไฟชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ทันที ไม่ว่าจะพบสายไฟในสภาพที่มีรอยขาดหรือแห้งกรอบก็ตาม แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นให้ต้องรอช่างผู้ชำนาญมาซ่อมแซมสามารถใช้เทปพันสายไฟเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรเฉพาะหน้าไปก่อนได้ (ไม่ควรพันเอาไว้นานเกินไป แนะนำให้เปลี่ยนใหม่โดยเร็วที่สุด)
วิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจะต้องตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าว่ามีชิ้นไหนชำรุดหรือมีการทำงานผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานมานานหลายปีแล้ว เพราะอาจมีกลิ่นไหม้ พลาสติกบางส่วนกรอบ ทำงานผิดปกติได้ ควรเปลี่ยนใหม่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
ข้อสำคัญที่เป็นวิธีป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรคือ การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมต่อการใช้งาน รองรับกำลังไฟที่พอดี ไม่เกินกำลัง และไม่ควรใช้ปลั๊กพ่วงต่อกันหลายอันภายในเต้าเสียบเดียว
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจะมีฟิวส์ตัดกระแสไฟฟ้าในตัว และได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อความปลอดภัยระหว่างใช้งาน
เพียงปรับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันก็มีส่วนช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ เช่น ถอดปลั๊กไฟฟ้าหลังใช้งานเสร็จแล้ว เช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ เลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงไม่สัมผัสปลั๊กขณะตัวเปียก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟดูดหรือไฟช็อต
ได้รู้ถึงวิธีป้องกันไฟดูดที่ถูกต้องกันไปแล้ว ข้อควรทำเมื่อเกิดเหตุคือ ถ้ามีคนโดนไฟดูดห้ามสัมผัสตัว ถ้าไฟลุกไหม้ห้ามสาดน้ำเด็ดขาด ควรตัดกระแสไฟฟ้าเป็นอย่างแรกเสมอ
ที่มา: whaleenergystation
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับคุกกี้ทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน