SHARES
หากติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้านให้เหมาะสมและถูกต้องตั้งแต่แรก เราจะหมดปัญหาเรื่องน่าปวดหัวให้ต้องมานั่งซ่อมแก้ไขวุ่นวายไปหมด เพราะระบบไฟฟ้าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรติดตั้งให้อย่างปลอดภัยต่อการใช้งาน เนื่องจากอุปกรณ์หลายอย่างในบ้านต้องอาศัยไฟฟ้าด้วยกันทั้งนั้น แล้วเราควรติดตั้งระบบไฟฟ้าแต่ละประเภทอย่างไร? วันนี้เซฟไทยมีวิธีติดตั้งระบบไฟฟ้าเบื้องต้นที่ควรรู้มาบอกแล้ว
ประโยคที่ว่า ‘อันตรายถึงชีวิต หากไม่ติดตั้งสายดิน’ เป็นการติดตั้งระบบไฟฟ้าที่สำคัญต่อความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมาก เพราะการต่อสายดินจะช่วยป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้ารั่ว โดยการนำกระแสไฟที่รั่วไหลลงดินแทนที่จะเข้าสู่ร่างกายของผู้ใช้งาน หรือพูดง่าย ๆ ว่า ‘ป้องกันไฟดูด’ นั่นเอง โดยสายดินนั้นมักจะติดตั้งอยู่ที่เมนไฟ และทำงานคู่กับอุปกรณ์ตัดวงจรอัตโนมัติ
สามารถอ่านเรื่องการต่อสายดินเพิ่มเติมได้ที่ ไขข้อสงสัย ทำไมต้องต่อสายดิน พร้อมบอกทริกว่าสายดินที่บ้านใช้ได้
อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย นั่นก็คือ การติดตั้งอุปกรณ์ตัดวงจรอัตโนมัติที่ช่วยรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์กระแสไฟฟ้ารั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นอุปกรณ์ตัวนี้จะตัดวงจรทันที
การติดตั้งระบบไฟฟ้ามีข้อแนะนำว่า ‘ควรแยกวงจร’ ไม่ควรติดตั้งระบบไฟฟ้าทุกอย่างในบ้านให้อยู่ภายในสวิตช์เดียวกัน เพราะการแยกวงจรเป็นส่วน ๆ จะทำให้มีความปลอดภัยและการซ่อมบำรุงยังสะดวกกว่าด้วย โดยเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงอย่างเครื่องปรับอากาศ ก็ยิ่งควรแยกสวิตช์
การเดินสายไฟก็สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะสายไฟในบริเวณที่เรามักมองไม่เห็นหรือลับตา เพราะตามสภาพแวดล้อมนั้นอาจเสี่ยงต่อการมีสิ่งแปลกปลอมไปก่อกวนได้ เช่น พื้นที่ใต้ฝ้า ใต้ผนัง ซึ่งมีทั้งฝุ่น น้ำ แมลง สัตว์อื่น ๆ แนะนำว่าควรเดินภายในประเภทท่อร้อยสายไฟ ตามประเภทที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายได้
หนึ่งในปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเมื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าเลยนั่นก็คือ การคำนวณปริมาณไฟฟ้าที่จะใช้เพื่อเลือกขนาดสายไฟให้เหมาะสมต่อการใช้งาน ซึ่งในอาคาร หรือบ้านพักอาศัยทั่วไป การเลือกใช้สายไฟขนาดธรรมดาก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าเป็นอุตสาหกรรม หรือโรงงานต่าง ๆ สายไฟธรรมดาอาจไม่รองรับการใช้งาน หากเลือกใช้สายไฟที่ไม่เหมาะสมจะส่งผลให้สายไฟมีความร้อนสูง เสี่ยงต่อฉนวนกันไฟฟ้าจะเกินการละลาย จนทำให้เกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรก็ได้
ทุกอย่างย่อมมีอายุการใช้งาน การติดตั้งระบบไฟฟ้าก็ควรได้รับการตรวจสอบเป็นประจำเช่นกัน เพราะเราใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าอยู่ทุกวัน หากเกิดเหตุขัดข้องหรือเสียหายแบบที่ไม่รู้ตัว อาจส่งผลกระทบอันตรายได้ ดังนั้นจึงควรเช็กระบบไฟฟ้าเสมอ ตามปกติแล้วสายไฟจะมีอายุการใช้งานประมาณ 7-10 ปี แต่ถ้าเป็นการเดินสายไฟแบบร้อยท่อก็จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่านี้ในระดับ 15-30 ปีเลยทีเดียว
ข้อสังเกตว่าควรเปลี่ยนสายไฟ คือ สายไฟเปลี่ยนสี สายไฟมีร่องรอยกรอบหรือแตก หากปล่อยไว้หรือทนใช้งานต่อไปอาจเป็นอันตรายได้
การติดตั้งระบบไฟฟ้า สายไฟต่าง ๆ ก็มีข้อควรรู้ในการติดตั้งเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น…
เก็บรอยต่อ หรือจุดเชื่อมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันเหตุไฟช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจร การติดตั้งตามรอยต่อต่าง ๆ จึงควรเก็บงานให้เรียบร้อย
การติดตั้งระบบไฟฟ้าจะเหมาะสมและถูกต้องได้นั้นการเลือกผู้เชี่ยวชาญหรือช่างชำนาญเฉพาะทางที่มีความรู้ความเข้าใจมาติดตั้งจะช่วยให้เราวางใจได้ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานในบ้านทุกคน
ทั้งหมดนี้คือข้อควรรู้ในการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน สุดท้าย หวังว่าจะบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน
ที่มา: tpe-trading
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับคุกกี้ทั้งหมดประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะ สำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานเว็บภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน